บทความเกี่ยวกับมูลนิธิ - มูลนิธิศาสตราจารย์ประสพ รัตนากร
บทความเกี่ยวกับมูลนิธิ

สถาบันประสาทวิทยา (โรงพยาบาลประสาท พญาไท) กับ ศาสตราจารย์นายแพทย์ประสพ รัตนากร

1_03.jpg (381 KB)

สถาบันประสาทวิทยาเป็นที่รู้จักในนามของ “โรงพยาบาลประสาท พญาไท” ก่อตั้งโดย ศาสตราจารย์นายแพทย์ประสพ รัตนากร ผู้ที่มีความรู้ความชํานาญทางด้านประสาทวิทยาและจิตเวช รวมทั้งมีวิสัยทัศน์ อันล้าลึกและยาวไกล ได้เล็งเห็นความสําคัญของโรคทางระบบประสาท และความทุกข์ยากของผู้ป่วยที่ยังไม่มีสถานพยาบาลเฉพาะทางสําหรับดูแลผู้ป่วยเหล่านี้ จึงได้ดําเนินการก่อตั้ง “โรงพยาบาลประสาท พญาไท” บนพื้นที่ 5 ไร่ ประกอบด้วยตึกอํานวยการ ตีกผู้ป่วยในขนาด 30 เตียง บ้านพักแพทย์ พยาบาลและพนักงานเท่านั้น ได้เปิดดําเนินการอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2500 ด้วยวัตถุประสงค์ ที่จะให้การบําบัดรักษาผู้ป่วย ที่ทนทุกข์ทรมานจากโรค ระบบประสาท สมอง และสภาวะทางอารมณ์ ควบคู่กันไปกับการศึกษาค้นคว้าและวิจัย

 1_07.jpg (165 KB)

จากหน่วยงานเล็กๆ เมื่อเริ่มก่อตั้ง ได้มีการวางแผน เตรียมโครงการขยายงานทุกด้าน และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เริ่มจากการจัดหาสถานที่เพิ่มเติม หาทุนสนับสนุนจัดสร้างอาคารต่างๆ เพื่อรองรับผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้น ในการนี้โรงพยาบาลประสาท ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานทุนทรัพย์ 2 ครั้ง คือ ครั้งแรกพระราชทานเงินรายได้จากการฉายภาพยนตร์ส่วนพระองค์ชุดเสด็จพระราชดําเนินเยือนอินโดนีเซีย และพม่าจํานวน 712,808.70 บาท เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2504 เพื่อสร้างตึกวิจัยประสาท และครั้งที่สองพระราชทานทุนทรัพย์ จํานวน 326,462.50 บาท เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2508 เพื่อสร้างตึกจักษุประสาทวิทยาสําหรับก่อสร้างตึกจักษุประสาทวิทยา และได้เสด็จพระราชดําเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ มาที่โรงพยาบาลประสาท และโรงพยาบาลสาขาในส่วนภูมิภาคหลายครั้งเพื่อประกอบพิธี ต่างๆ ดังนี้

วันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2504 : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดําเนินทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ “ตึกวิจัยประสาท” และเปิดตึกศาลาบําบัด ตึกศัลยกรรมประสาท และตึกคนไข้หญิง วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2505 : สมเด็จพระศรีนครีนทราบรมราชชนนี

2_03.jpg (371 KB)


เสด็จพระราชดําเนินทรงประกอบพิธีเปิด “ห้องสมุดศรีสังวาลย์” วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506 : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดําเนินทรงประกอบพิธีเปิด “ตึกวิจัยประสาท” วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2507 : ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ และ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เสด็จพระราชดําเนินทรงประกอบพิธีเปิด "พระรูปสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก” และ “ตึกสรีระบําบัด”วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2508 : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถพร้อมด้วยพระราชโอรสพระราชธิดา เสด็จพระราชดําเนินทรงประกอบพิธีเปิด “โรงพยาบาลประสาท สงขลา” โรงพยาบาลสาขา แห่งแรก วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2511 : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดําเนินทรงประกอบพิธีเปิด “ตึกจักษุประสาทวิทยา และ ตึกกุมารประสาทวิทยา” วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2513 : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดําเนินทรงประกอบพิธีเปิด “โรงพยาบาลประสาท เชียงใหม่” โรงพยาบาลสาขาที่ 2 วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดําเนินทรงประกอบพิธีเปิด “ตึกประสาทศัลยศาสตร์” วันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดําเนิน ทรงประกอบพิธีเปิด “อาคารรัชมงคล” วันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2536 : สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดําเนินทรงประกอบพิธีเปิด “อาคารอํานวยการ” นอกจากนี้ ในวันที่ 18 พฤษภาคม 2545 สถาบันประสาทวิทยาได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ได้พระราชทานพระราชานุญาตให้สถาบันประสาทวิทยาอัญเชิญ พระนามาภิไธย มาจัดทําถ้วยรางวัลเพื่อมอบให้แก่ผู้ชนะเลิศการแข่งขันโบว์ลิ่งการกุศล ซึ่งจัดขึ้นเพื่อนําเงินไป ช่วยเหลือผู้ป่วยอัมพาต อัมพฤกษ์ที่ยากไร้ และกิจกรรมที่เกี่ยวกับการดูแลรักษาผู้ป่วยดังกล่าว ซึ่งขาวสถาบันประสาทวิทยา ทุกคนรู้สึก ปลื้มปิติยินดี และสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น

 

2_07.jpg (347 KB)


ในด้านการพัฒนาบุคลากรและวิชาการ สถาบันประสาทวิทยา ได้รับความร่วมมือและช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ จากสถาบันต่างๆ ทั้งภายใน และต่างประเทศ อาทิเช่น ศ.น.พ.อวย เกตุสิงห์ ศ.น.พ.วิชัยบํารุงผล ศ.น.พ.จรัส สุวรรณเวลา ศ.น.พ.รุ่งธรรม ลัดพลี ศ.น.พ.อุทัย รัตนิน ศ.น.พ.จรีเมท กาญจนารันย์ ฯลฯ ท่านเหล่านี้ได้มีส่วนสําคัญในการพัฒนางานของสถาบันในระยะเริ่มต้น ส่วนความช่วยเหลือจากต่างประเทศสถาบันประสาทวิทยา ได้รับความร่วมมือและช่วยเหลืออย่างดียิ่งดังนี้

 

ใน พ.ศ. 2501 Prof. Graeme Robertson จากออสเตรเลียได้มาสอนที่โรงพยาบาลเป็นเวลา 2 เดือน และได้เสนอปรับปรุงสถาบันเป็นสถาบันทางประสาทวิทยาที่เข้ามาตรฐาน พร้อมกับส่งเครื่องเอกซเรย์ และเครื่องมือ เครื่องใช้ในด้านประสาทรังสีมาให้

 

ในพ.ศ.2503 Prof. Douglas Mc Alpine  จาก  National Institute of Neurology, Queen Square ลอนดอน ประเทศอังกฤษ ได้มาสอนที่โรงพยาบาลเป็นเวลา 2 เดือน และได้แนะนําเกี่ยวกับการพัฒนาในด้านวิชาการ

ใน พ.ศ. 2505 Prof. R.S.Allison  จากไอร์แลนด์ ได้มาประจําทําการสอนเช่นกัน ประมาณ 2 เดือน


ใน พ.ศ. 2508 Dr.John Stobo Prichard จากโตรอนโต แคนาดา ได้มาประจําอยู่ 3 เดือน และได้ตั้งแผนกกุมารประสาทวิทยา จัดโครงการแลกเปลี่ยนแพทย์ไทยกับแคนาดา โดยส่ง Dr.John Edmeads จากโตรอนโตมาเป็น ที่ปรึกษา สอน และดําเนินงานในด้านวิจัยอยู่ประมาณ 1 ปี จึงกลับ และส่ง Dr.John Steele มาดําเนินงานต่ออีก 1 ปี

 3_03.jpg (661 KB)

4_03.jpg (641 KB)


ใน พ.ศ. 2509 Prof.Sigvald Refsum จากนอร์เวย์ ได้มาทําการสอนอยู่ที่โรงพยาบาล 2 เดือน และได้ให้ข้อเสนอแนะในการขยายงานโรงพยาบาลประสาท สงขลา และโรงพยาบาลประสาท พญาไท เป็นผลให้ได้รับความร่วมมือระยะยาว ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลนอร์เวย์


ใน พ.ศ. 2509 Dr.Med. Lothar Hallmann จากแฮสมเบิร์ก สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ได้มาประจําอยู่ที่โรงพยาบาลและได้สร้างห้องทดลองวิจัย และเริ่มการวิจัยในด้านขีวเคมีประสาท โดยเอื้อเฟื่อส่งพนักงานวิทยาศาสตร์ จากสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน มาร่วมด้วยอีก 2 คน


นอกจากนี้ยังได้รับทุนส่งเจ้าหน้าที่ทุกระดับ ทั้งแพทย์ พยาบาล และนักวิชาการ ไปศึกษาฝึกอบรมในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ซึ่งบุคลากรเหล่านี้ได้กลับมาทําให้สถาบันการแพทย์แห่งนี้ ได้รับการยอมรับในมาตรฐานการบริการบําบัดรักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคระบบประสาทอย่างครบวงจร รวมทั้งเป็นศูนย์กลางการฝึกอบรมแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ และนิสิต นักศึกษาจากสถาบันต่างๆ จนกระทั่งได้รับการรับรองให้ใช้คําว่าสถาบันต่อท้ายชื่อเป็น “โรงพยาบาลและสถาบันประสาทวิทยา” และจากการปรับปรุงระบบบริการกระทรวงสาธารณสุขในปี 2537 ได้มีพระบรมราชโองการให้ออกพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมการแพทย์ กําหนดให้โรงพยาบาลและสถาบันประสาทวิทยา มีฐานะเท่าระดับกอง เปลี่ยนชื่อเป็น “สถาบันประสาทวิทยา” สังกัดกรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข

ดูทั้งหมด